ประเทศไทย พื้นที่เป็นที่ลุ่ม ที่ดอน ที่ราบสู่ง ภูเข้า ซึ่งพืชบางส่วนก็ไม่สามารถทนต่อน้ำท่วมขังได้ และตายไป เเบ่งกลุ่มไม้ต้นตามระดับความทนทานต่อการเกิดน้ำท่วมขังออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1.กลุ่มที่ไม่ทนต่อการเกิดน้ำท่วม ส่วนใหญ่อยู่ในวงศ์จำปา (Magnoliaceae) วงศ์อบเชย (Lauraceae) นอกจากนี้พืชส่วนใหญ่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในพื้นที่ที่มีฝนตกชุก เช่น ป่าดิบเขา และป่าดิบแล้ง ลักษณะสัณฐานทั่วไปของไม้กลุ่มนี้ เป็นไม้ต้นไม่ผลัดใบ เปลือกลำต้นค่อนข้างบาง เปลือก ลำต้น ใบ ผลและอื่น ๆ มักมีกลิ่นหอม มีระบบการแตกรากทางแนวดิ่งมากกว่าแนวตั้ง นอกจากนี้มีไม้ต้นที่ใช้เนื้อในเชิงเศรษฐกิจด้วยเช่น สัก เคี่ยมคะนอง ตะเคียงชันตาแมว อาจกล่าวได้ว่าไม้ต้นในกลุ่มนี้มีนิเวศที่เปราะบาง

ตัวอย่าง รักแกนมอ รักน้ำเกลี้ยง ทุเรียนเทศ โมกราชินี แคสันติสุข เพกา ทองอุไร สนแผง เคี่ยมคะนอง ตะเคียงชันตาแมว มะพลับเจ้าคุณ ตะเคียนเฒ่า เม็ก เปล้าน้อย มะกายคัด แคบ้าน ขี้เหล็กเปลือกขม กาสามปีก สัก อบเชยหวาน เทพธาโร อะโวกาโด หมีเหม็น จำปา จำปาทอง จำปี จำปีป่า จำปีหลวง ยี่หุบ มณฑาดอย จำปีสิรินธร งิ้วบ้าน จันทร์หอม ทุเรียน ปอขาว ตะขบบ้าน ยมหอม ขนน สาเก ปอสา มะหาด จันทน์เทศ ผักหวานป่า มะไฟจีน หอมไกลดง กฤษณา

2.กลุ่มที่ทนทานต่อน้ำท่วมขัง ไม้ต้นส่วนใหญ่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ โดยเฉพาะพืชที่มีถิ่นกำเนิดในพื้นที่แล้งมีสัดส่วนสูงที่สุด เช่น ป่าเต็งรัง ไม้สวน ป่าผสมผลัดใบ อย่างไรก็ตามพืชบางส่วนป่าดิบชื้นก็อยู่ในส่วนนี้ด้วย ลักษณะที่สังเกตได้พืชกลุ่มนี้มีทั้งไม้ผลัดใบและไม่ผลัดใบ เปลือกลำต้นหนา ไม่เป็นไม้ต้นที่มีเปลือกลำต้นและเนื้อไม้หอม

ตัวอย่าง ธนนไชย พระเจ้าห้าพระองค์ มะกอกป่า มะม่วง มะยงชิด กระดังงาไทย ยางโอน ลำดวน โมก ลั่นทมขาว สัตวรรณ กาสะลองคำ แคขาว แคทะเล แคแสด ชมพูพันธ์ทิพ ปีป ศรีตรัง เหลืองปรีดียาธร แคหิน ตะคร้ำ มะกอกเกลื้อน มะแฟน สนทะเล สนประดิพัทธ์ กระทิง บุนนาค มะดัน มังคุด สารภี สมอไทย สมอพิเภก หูกระจง หูกวาง ส้านใหญ่ ตะเคียนทอง ตะเคียงหิน เต็ง พะยอม ยางนา รัง ตะโกนา มะเกลือ ขันทองพยาบาท เปล้า ยางพารา กระถินณรงค์ กระถินเทพา ขี้เหล็กบ้าน ทรงบาดาล ทองกวาว ประดู่แดง แดง พะยูง มะขาม จามจุรี ทับทิม กร่าง ฝรั่ง ชมพู่ ยูคา สนอินเดีย

3.กลุ่มที่ทนทานต่อน้ำท่วมขังสูง จากการสำรวจไม้ต้นในกลุ่มนี้มีสมาชิกน้อยที่สุด ไม้ต้นส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มที่มีน้ำท่วมขังอยู่บ่อยครั้ง เช่น ป่าชายเลน ป่าชายหาด และป่าพรุ และรวมไปถึงป่าบุ่ง ป่าทาม

ตัวอย่าง รักน้ำ ตีนเป็ดทราย ตีนเป็ดน้ำ แคนา แคน้ำ กุ่มน้ำ ฝาดดอกแดง ฝาดดอกขาว ไคร้ย้อย มะกออกน้ำ สะท้อนรอก โสกน้ำ จิกน้ำ จิกเล จิกสวน ตะแบกนา ลำพู ปอทะเล โพทะเลก้านยาว ไทรย้อยใบทู่ กรวยน้ำ หว้าน้ำ เสม็ดขาว กระทุ่มน้ำ กระทุ่มนา ก้านเหลือง สนุ่น หลิว

จากผลการศึกษามีจุดที่น่าสนใจ คือ ป่าที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในพื้นที่แล้งจะมีความทนทานมากกว่าในพื้นที่ที่มีฝนตกชุก ทั้งนี้เป็นผลจากพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในป่าผลัดใบอยู่ในภาวะความเครียดหลายปัจจัยทั้ง ความแห้งแล้ง น้ำท่วม หรือดินที่ไม่ดี ทำให้มีความสามารถปรับตัวได้ดีกว่า ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะนำไปปลูกในพื้นที่ที่มีโอกาสน้ำท่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเมืองที่มีต้นไม้จะได้รับความเครียดจากหลายปัจจัย

web:ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เอกสารอ้างอิง
Leksungnoen, N., W. Eiadthong, R. Kjelgren. 2017. Thailand catastrophic flood Bangkok tree mortality as a function of taxa habitat and tree size. Urban Forestry&UrbanGreening 22 (2017) 111–119
วิชาญ เอียดทอง. 2012. ผลกระทบของน้ำท่วมขังจากเหตุอุทกภัยปี พ.ศ. 2554 ต่อความหลากชนิดไม้ต้นในพื้นที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาศาสตร์บางเขน.